top of page
Your money made simple.png

Sharing is caring Ep.1

"Discovering the Path to Financial Freedom, Exploring insights from Russ Crosson's 'Your Money Made Simple'. Join me as we dive into practical strategies for a prosperous and worry-free financial future. Let's take the first step towards lasting financial security and peace of mind."

My role as an UX designer

......

is to make the reader understand the principle of financial freedom from my writing and be able to use the designed handout as a key to financial freedom.

Tony Pic.png

Where
your
money
goes?

Screenshot 2023-12-19 at 11.00.26 AM.png

The Key To Financial Freedom

   You might have heard that the "key to financial freedom" is having an abundance of money. Imagine being able to buy anything you want and still have enough to spend freely for the rest of your life. That's true! It's one of the facets of financial freedom.

 

   Freedom from the financial cycle also depends on the goals you set. If you categorize yourself as a "crazy rich" person, it will be harder to make it a reality. Instead of fixating on having unlimited cash in your bank account, consider a different approach. What if you don't spend money on unnecessary things? Will that help you break free from the financial loop? And how much should you earn to achieve this freedom?

 

   The good news is, that the rule is simple: spend less than you earn and prioritize your savings for short, intermediate, and long-term goals. It sounds simple, right? Yet, some people still accumulate more and more debt. This happens because they don't know the secret of the rule, which is understanding "how much is enough". First please think about, how much you earn and how much can you spend.

 

   If I were to ask how much money you can use each month without creating any debt, the first number that comes to most people's minds is their monthly income. However, even if you spend 10% less than what you earn each month, you might end up with some debt by the end of the year. This is because you need to account for taxes. The trick is to tally up your annual income and allocate funds for Federal tax, State tax, Social Security, and Medicare first. You still can't use that number if you have any existing debt. Consider your annual debt and prioritize its payment as a second step. 

 

   The next surprising step is giving. You may have questions about this budget. Why work so hard only to give your money to others? The answer is to give to what you love, the things that energize you and give you purpose. This doesn't have to be a large percentage, and you don't have to spend it immediately. Just set it aside for when you're ready to make a meaningful contribution.

 

   Now, divide your money into 12 months, and you'll know how much you can spend without incurring any debt. But there are a few things you need to balance: the present and the future. I'll refer to this as living costs and savings. These two categories are discretionary, meaning you have control over them. For example, you can minimize travel expenses to maximize your savings budget, or you can allocate more for travel and save a bit less, depending on your lifestyle and age. We'll delve into more details about your living costs and how to manage your savings. (Let's check what is your living cost. Food and drink, Utilities, Rent, Phone, Internet, Car insurance, Car itself, Gas, Travel, Commute, Health Insurance, House loan,  House Insurance, Hobby and Toys, Property tax, and anything that keeps you alive and comfortable.)

 

   The key to financial freedom is saving, and the best use of saved money is to invest it. It may sound unusual, but if done right, it's incredibly effective. The priority for your savings should be to eliminate short-term and long-term debt. However, don't forget to allocate some for retirement funds and emergency cash. Speaking of which, what exactly is emergency cash? It's the amount you spend each month multiplied by the number of months you want to live without any income, typically recommended at least 3 -12 months, and don't forget to include debt for each month too. If you can't imagine life without a car, save some in case you suddenly need to replace it. This is your emergency cash. It grants you freedom and the flexibility to find work that you're truly passionate about. You'll see that without any debt or loans, the same amount of emergency cash can sustain you 3-5 times longer. If you have enough of the elements I've discussed, you can now invest your savings and acquire assets. These two will help you generate additional income.

 

   Remember, income isn't synonymous with work. Even if your assets generate more money than you spend, don't stop working. Work provides both physical and mental energy, giving you purpose and fulfillment. Lastly, don't forget to repeat this process every year to track your progress toward your goal of achieving Financial Freedom.

Download
Handout

Hand out example 2.png

01

Write down your total annual income from all the sources, if too hard to calculate you can put the estimation number that you think it close.

That might come from your work or be generated from assets and investments. In the first year of working, you might not have any money from assets and investments yet, but that's totally fine. If you follow this method for a couple of years, you will see some changes. It might start with a decrease in debt, then gradually lead to saving money for you to manage.

02

List the expenses that you cannot avoid for the entire year.

Begin by considering all the taxes you must pay each year, including Federal tax, State tax, Social Security, and Medicare. Next, account for all the monthly debts you need to pay in the upcoming year. Establish a budget for charitable giving. Afterward, assess the remaining amount of money you have for the year to spend without incurring debt. Finally, divide this sum by 12 to determine your monthly spending limit.

This part should become a part of your family routine. Tracking every expense your family incurs might sound challenging, but at the end of the day, it's the best time to review your records. Using an application to help you record is a great alternative way to establish your routine.

03

List out your living expenses each month

This category is about the money that keeps your family alive and comfortable. For example food, drink, Utilities, Rent, Phone, Internet, Car Insurance, Car, Gas, Travel, Commute, Health Insurance, House loan, Hobby, and Property tax. Then try to compare it with the amount of money that you can spend each month. If the living cost of you is higher than the money that you can spend each month. Now, you have to get rid of unnecessary things and try to lower your living expenses. Another suggestion is to find higher pay jobs or advance your career, but before you take a move please make sure you have some emergency cash to handle your living expenses for a period of time. 

04

Manage your savings and prioritize your living expenses.

Save as much money as you can and also try to reduce your living expenses to get more savings too. After you have a bunch of savings money, try to spend it to get rid of your long-term debt but do not spend it all at once. You have to balance your emergency cash and retirement fund too. If you are still young you can focus on debt and emergency money first then you will see more opportunities to have "saving money" without debt. You will have more choices in your work and be more secure if one day you lose your job. Set your emergency money up to at least 12 months then you can save more for your investments. If you can come this far, do not spend saving money on any investment that you are not an expert in. Make sure every asset and investment will grow and give you a return in the future. 

Key takeaway

Key #1, Record your spending.

Is the first key to letting you know how much you spend and how much you should save. 

Key #2, Balance your life style.

Balancing between your living lifestyle and saving. To get more margin from your work.

Key #3, Use your margin wisely.

On your short, intermediate, and long-term goals.  Use margin to build your assets to help you generate money and fill up your designed goals. 

อิสรภาพทางการเงิน

key to financial freedom Thai 2Sharing is Caring
00:00 / 13:49

"อิสรภาพทางการเงิน" พอพูดถึงคำนี้ ทุกคนอาจจะนึกถึงภาพของคนที่รวย เป็นเศรษฐี ใช้เงินเยอะ ถือแบรนด์เนม ขับรถแพง และสมัยนี้อาจจะรวมไปถึงการส่งลูกเข้าโรงเรียนอินเตอร์แพงๆอีกด้วย

 

ภาพเหล่านี้อาจจะอธิบายไม่ได้ว่าคนเหล่านั้นที่มีภาพลักษณ์รวยๆ เขามีอิสรภาพทางการเงินหรือเปล่า เพราะถ้าหากมีเงินสด 10 ล้านแต่มีรายจ่ายเดือนละ 1 ล้านก็อาจจะไม่ได้ถือว่ามี อิสรภาพทางการเงินมากขนาดนั้น ในอีกมุมนึงเงินที่มีอาจจะไม่พอในการจ่ายหนี้ด้วยซ้ำ ถ้าวันนึงเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมาอาจจะทำให้อยู่ได้แค่ 10 เดือนแล้วหลังจากนั้นก็ติดหนี้ได้ 

 

ดังนั้นอิสรภาพทางการเงินที่ผมจะมาพูดถึงวันนี้ จะเป็นหลักการที่คนธรรมดาบ้านๆ พนักงานบริษัท คนหาเช้ากินค่ำ ที่สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่ผมชอบหลักการนี้แล้วอยากเอามาแชร์ ก็เพราะว่าผมรู้สึกว่ามันมีความพิเศษกว่าแนวคิดอื่นตรงที่ 1 มันตอบโจทย์คนไทย 2 มันแบ่งปัจจุบันกับอนาคตได้ เริ่มน่าสนใจแล้วใช่มั้ยครับ 

 

ก่อนอื่นเรามาเริ่มกันตรงที่ ใช้เงินเท่าไหร่ให้ไม่เป็นหนี้ก่อนนะครับ  ถ้าคำถามคือ “ในหนึ่งเดือน ใช้เงินเท่าไหร่ถึงจะไม่เป็นหนี้?”

คนส่วนใหญ่คงคิดถึงเงินเดือนที่เข้ามาในแต่ละเดือนใช่มั้ยครับ ก็คิดว่าอย่าใช้เงินเกินนั้นก็คงไม่มีหนี้ละ ซึ่งมันก็ไม่ถูก100%นะครับ เพราะมีหลายคนที่ใช้แค่ 90% แต่สิ้นปีมา กลายเป็นหนี้ก็มี ซึ่งหนี้พวกนี้ก็มาจาก ภาษีจากรายได้ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ต้องจ่ายตอนสิ้นปี อาจจะทำให้เงินที่เก็บมาทั้งปีติดลบตอนสิ้นปีก็ได้ 

 

วิธีที่ง่ายในการคำนวนก็คือรวมรายได้เป็นรายปีแล้วหักเงินที่ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ของทั้งปีไปก่อน ซึ่งก็มี ภาษีรายรับ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้วถ้าปีนี้เงินเดือนขึ้นก็คำนวนเผื่อไปด้วยเพราะภาษีที่จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนเงินที่ได้รับไปด้วย สำหรับบางคนที่ทำงานนอกเวลาและทำงานอิสระอาจจะสรุปเงินเป็นรายปียากกว่า แต่ก็ให้กะๆให้ตัวเลขมันใกล้เคียงไว้ก่อนเพื่อให้เราเห็นภาพรวม และก็เอาสิ่งที่ต้องจ่ายรายปีเหล่านั้นมาหักออกจากรายได้รวมรายปีของเรา 

 

เรายังมีสิ่งที่ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกอัน นั่นก็คือหนี้ ให้เราคำนวนมาเลยว่าปีหน้าจะต้องจ่ายหนี้เท่าไหร่ แล้วก็หักออกไปเราก็จะได้เลขมาตัวนึงที่ที่หักภาษีกับหนี้ไปแล้ว 

 

แต่ว่าเลขนั้นยังใช้ไม่ได้เพราะมีเงินอีกส่วนที่จำเป็นนั่นก็คือ เงินในส่วนของการให้ เงินส่วนนี้แหละครับที่ผมคิดว่ามันเหมาะกับคนไทย เพราะว่าเราอาจจะต้องนำเงินส่วนนี้ไปให้พ่อแม่หรือเลี้ยงลูก หรือเอาไปสนับสนุนองค์กรณ์ต่างๆที่เราต้องการจะส่งเสริม ในทางกลับกันถ้าเราไม่ตั้งเพดานเงินก้อนนี้ขึ้นมาเราก็อาจจะให้ไปมากเกินไปจนทำให้เราผู้เป็นเสาหลักในครอบครัวเกิดปัญหาทางด้านการเงินและจิตใจต่างๆตามมาได้ภายหลัง เช่นในบางคนที่ต้องให้พ่อแม่และอาจจะต้องส่งน้องเรียนด้วย เงินก้อนแห่งการให้นี่แหละครับที่เป็นไฟในการทำงานและเป็นไฟในการหาเงินให้กับเรา ดังนั้นก้อนนี้มีผลกับพลังงานทางจิตใจของเรามาก ถ้าหากเราขาดก้อนนี้แล้วเราก็จะทำเพื่อตัวเองอย่างเดียว การพัฒนาตัวเองก็อาจจะเก็บไว้พรุ่งนี้อยู่เสมอ

 

หลังจากเราเอาเงินที่ได้ทั้งปี ลบภาษี ลบหนี้ ลบการให้ไปละ ก็จะสามารถนำมาหาร 12 เพื่อเห็นเงินที่เราสามารถใช้ได้ในแต่ละเดือนแล้วนะครับ แล้วนี่ก็คือ ข้อสองที่ผมบอกว่าผมชอบเกี่ยวกับหลักการนี้ คือเราสามารถเอามาบริหารระหว่างปัจจุบันและอนาคตได้ ซึ่งปัจจุบันผมจะเรียกว่า "ค่าใช้จ่ายรายเดือน" และอนาคต ผมจะเรียกว่า"เงินเก็บ" ซึ่งหลักการนี้มันแล้วแต่อายุเลย ถ้าเด็กเราก็สามารถใช้ได้เยอะหน่อยเก็บน้อยหน่อย เน้นประสบการณ์ชีวิต แก่ชึ้นมาก็เก็บเยอะหน่อยใช้น้อยหน่อยเผื่อตอนเกษียณอายุ  แต่ก่อนที่จะเลือกว่าจะเก็บเยอะหรือใช้เยอะ เรามาดูกันก่อนว่าเราใช้เท่าไหร่

 

มาดูรายจ่ายที่ต้องจ่ายต่อเดือนเรามีอะไรบ้าง ค่ากิน ค่าดื่ม ค่าน้ำ,ค่าไฟ,ค่าอินเทอร์เน็ต,ค่ามือถือ,ค่าผ่อนมือถือ ค่าผ่อนรถ,ค่าน้ำมัน,ค่าประกันรถ ค่าท่องเที่ยว ค่าเดินทาง ค่าประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ค่าผ่อนบ้าน,ค่าซ่อมบ้าน,ประกันบ้าน,ภาษีที่ดิน งานอดิเรก พูดง่ายๆก็คืออะไรก็ตามที่ทำให้ชีวิตของตนเองและครอบครัวดำเนินไปได้ในแต่ละวัน เราก็รวมมาแล้วมาดูว่า เงินที่เราใช้ได้ต่อเดือนมันมากกว่าเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือนมั้ย เพราะว่าถ้าไม่พอ เราก็เป็นหนี้อยู่ดี แต่ข้อดีคือ พอเราเขียนมันออกมาเราจะเห็นว่า มันมีอะไรเท่าไหร่บ้าง เราสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น 

 

เมื่อเรามีเงินเหลือเก็บมาก้อนนึง เราก็เอาไปเลือกใช้ว่า จะใช้มันยังไงดีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งดีสุดก็คือทำพร้อมๆกันไป แบ่งเป็น 3 ก้อนหลักๆ ก้อนแรกให้เน้นปิดหนี้ระยะยาวก่อน แล้วก้อนที่สองเก็บไว้ทำเงินสดสำหรับฉุกเฉิน จริงๆตรงนี้ไม่ต้องสดก็ได้แต่ต้องเป็นอะไรที่ไม่วูปวาปและถอนออกมาใช้ได้ไว ซึ่งเงินฉุกเฉินนี่ต้องมีไว้สำหรับตอนที่เราไม่ได้ทำงานถ้ามีเยอะก็แปลว่าเราอยู่โดยไม่ทำงานได้นานขึ้น ซึ่งก็จะแนะนำให้เก็บพอสำหรับการขาดงานประมาณ 6-12 เดือนและหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน แล้วถ้าต้องใช้รถตลอดก็ควรที่จะมีเงินสดพอสำหรับการซื้อรถอีกคันเผื่อไว้ยามฉุกเฉินอีกด้วย ถ้าเราเขียนในกระดาษมาถึงตรงนี้แล้วอาจจะเห็นได้เลยว่า ถ้าไม่มีหนี้อาจจะอยู่ได้นาน 3-5 เท่าก็ได้ แล้วถ้าเก็บได้มากขึ้นอีกก็เอาไปเป็นเงินสำหรับเกษียณ ส่วนเงินเก็บก้อนที่ 3 ก็จะแนะนำให้ไปลงทุน เก็บสะสมมาถึงจุดนี้แล้วที่สำคัญก็คืออย่าลงทุนในอะไรที่เราไม่เก่ง อย่าเน้นรวยเร็วหรือผลตอบแทนที่มากเกินตลาดหลักทรัพย์เพราะความเสี่ยงมัยเยอะ อาจจะเน้นในการซื้ออสัมหาหรือหุ้นปัญผลเพื่อให้เราได้มีรายได้เข้ามาเสริมกับงานของเราอีกหลายๆช่องทาง

 

ถ้าเงินเก็บเรามีพอทั้งสามส่วนหลักแล้ว เราสามารถสร้างก้อนใหม่สำหรับเป้าหมายชีวิตระยะยาวได้ เช่นการซื้อรถที่เราอยากได้ ซื้อบ้านหลังใหม่ที่สะดวกสบาย ไปเที่ยวสถานที่ในฝัน และหาประสบการณ์ใหม่ๆให้กับชีวิตและรวมถึงเก็บเงินไว้ให้ลูกหลานใช้

 

เช็คตัวเองทุกปี เราอาจจะมีเงินที่ได้จากอสัมหาและการลงทุนเพิ่มขึ้น จนอาจจะมากกว่างานที่เราทำ แต่ก็แนะนำว่าอย่าหยุดทำงาน ถ้าเราไม่ชอบงาน การมีเงินฉุกเฉินหรือว่าการมีรายรับเข้ามาหลายทางก็เป็นโอกาสให้เราสามารถหางานที่เราชอบได้ และงานที่เราทำมันจะเติมไฟให้ชีวิตเรา ทำให้เรามีเป้าหมาย และทำให้ชีวิตเรามีความหมาย

โหลดคู่มือ
แล้วเริ่มกันเลย

Hand out example 2.png

01

เขียนรายรับทั้งปีออกมา ถ้าหากการทำงานได้เงินไม่แน่นอนให้ลองคำนวนคร่าวๆที่คิดว่าใกล้เคียงมากที่สุด

รายได้ที่ว่าอาจจะมาจากการที่เราทำงานหรือว่าเงินปันผลจากหุ้นต่างๆหรือเงินจากค่าเช่าอสัมหาริมทรัพย์ก็ได้ ในปีแรกที่เราเริ่มคำนวนอาจจะมีแต่รายได้จากการทำงานนั่นก็ถือว่าแจ่มแล้ว แต่ในปีหลังๆถ้าเรามีโอกาสมากขึ้นก็จะสามารถได้เงินจากการลงทุนเพิ่มเข้ามาอีกเช่นกัน  

02

เขียนรายจ่ายที่เราจัดการไม่ได้และต้องจ่ายออกมาแล้วรวมเป็นทั้งปี เอามาดูซิว่าปีๆนึงเราจะต้องจ่ายเท่าไหร่

หลังจากคำนวนรายได้เสร็จก็นำมาคำนวนภาษีก่อนเลย แล้วหักด้วยหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งปี ซึ่งคำนวนำด้จากขั้นบันได้การเสียภาษีของบุคคลธรรมดา กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนหนี้เราก็คงรู้อยู่แล้วว่ากู้อะไรมาต้องจ่ายเท่าไหร่บ้าง และที่เหลือเราค่อยมามาคำนวนว่าเราอยากให้คนอื่นได้มากสุดกี่เปอร์เซ็น เอารายได้มาหักสามก้อนนี้แล้วก็มาหาร 12 เพื่อเป็นเงินที่เราสามารถจัดการได้ใน 1 เดือน

03

มาดูกันว่าเดือนๆนึงจ่ายอะไรเท่าไหร่บ้าง

เงินที่เราใช้ในแต่ละเดือนเพื่อให้ครอบครัวเราดำเนินชีวิตต่อไปได้และมั่นคง ค่าใช้จ่ายทั่วๆไป ค่ากิน ค่าอยู่ ค่ารถ ค่ามือถือ ค่าน้ำ ค่าไฟ พวกนี้คงไม่น่างงเท่าไหร่ แต่ที่หลายคนจะลืมคือค่าประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันรถ ประกันบ้าน และภาษีที่ดิน ถ้ามีบ้านหลายหลังที่ดินหลายแปลงที่ไม่ได้ปล่อยเช่าก็ต้องรวมเข้าไปด้วย อะไรที่นานๆทีเช่นค่าซ่อมบำรุงรถและบ้านก็ลองตีเฉลี่ยออกมาเป็นรายเดือนด้วย แล้วเราจะเห็นว่าเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เหลือเงินเก็บมั้ย ตอนนี้เราต้องเก็บเยอะหรือใช้เยอะ ถ้าอยากเก็บเยอะขึ้นเราจะลดตรงไหนได้บ้าง

04

ใช้เงินเก็บให้เหมาะสมกับชีวิต ปัจจุบันและอนาคต

หลังจากเก็บเงินได้เป็นก้อนแล้ว ก็ลองเอาไปเฉลี่ยดูว่าเราจะเอาไปใช้อะไรได้บ้างซึ่งก้อนที่สำคัญก็คือ เคลียหนี้ระยะยาว เงินเก็บฉุกเฉิน และ เงินเก็บสำหรับตอนเกษียณ เราจะเน้นสามก้อนนี้ก่อน แล้วต่อมาด้วยเงินลงทุนและเงินเพื่อเป้าหมายระยะยาว เราจะเห็นได้ว่า เงินสามก้อนแรกเราจะรู้อยู่แล้วว่าเราจะต้องเก็บเท่าไหร่ ซึ่งถ้าเคลียร์หนี้ได้เก็บเงินฉุกเฉินก็จะเต็มไวขึ้นแล้วก็คือเต็มแล้วเต็มเลย ส่วนที่นานสุดก็จะเป็นเงินเกษียณที่เราค่อยๆเก็บได้เรื่อยๆตลอดชีวิตที่เรามีแรงทำงาน ที่เหลือก็เป็นเงินสำหรับลงทุนและใช้จ่ายตามที่เราอยากใช้ ทุกอย่างให้เฉลี่ยกันไปตรงไหนมากน้อยตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

ข้อสำคัญ

ข้อที่ #1, บันทึกรายรับรายจ่าย

เป็นเรื่องง่ายแต่ทำยาก อาศัยการทำอยู่ประจำจนทำให้เกิดเป็นนิสัย แล้วจะทำให้เราเห็นภาพรวมในการใช้เงินของเรา

ข้อที่ #2, จัดการรายรับรายจ่าย

หลังจากที่รู้ว่าเราใช้เงินเท่าไหร่ เราก็จะสามารถจัดการให้เป็นสัดส่วนได้โดยการลดการซื้อของที่ไม่จำเป็นหรือหางานใหม่ที่ทำให้เรามีรายรับมากขึ้น

ข้อที่ #3, ใช้เงินเก็บอย่างชาญฉลาด

ใช้เงินเก็บกับเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ของชีวิตและเน้นไปยังการลงทุนเพื่อให้ได้รายรับมากขึ้น รวมถึงการวางแผนการเกษียณในอนาคต

สิ่งที่ต้องทำต่อไป

ศึกษาการนำหลักการไปใช้งานกับสภาพการจ้างงานจริงในประเทศไทย

คอยติดตามดูผลการปฏิบัติและปรับเครื่องมือให้เข้ากับผู้ใช้งานในแต่ละพื้นที่

Reference

A book name "Your money made simple" 
by Russ Crosson

RUSS CROSSON is executive vice president and chief mission officer of Ronald Blue Trust. Russ has authored several books. He and his wife, Julie, are active in teaching and mentoring on the subjects of money, marriage, and communication.

Please give a shout-out to Joseph Helms for giving me financial advises and this book.

IMG_2058_edited_edited_edited.jpg

Join my UX research?

Let me guide you and create tools that help you reach your financial goal. 

Thanks for submitting!

bottom of page